การเริ่มเชื่อมทิก
1. แบบสะกิด (Scratch Start) ใช้ปลายลวดทังสเตนสะกิดกับชิ้นงานเพื่อเริ่มเชื่อม
2. แบบแตะยก (LIFT Start) ใช้ปลายลวดทังสเตนแตะลงบนชิ้นงานแล้วยกขึ้น เพื่อเริ่มเชื่อม ด้วยวิธีนี้ สามารถแก้ปัญหาของเนื้อปลายลวดทังสเตนฝัง
3. แบบความถี่สูง (High Frequency Start) วางปลายลวดทังสเตนอยู่เหนือชิ้นงานประมาณ 3-5 มม. แล้วกดสวิทซ์ที่ปืนเชื่อม เพื่อเริ่มเชื่อมเป็น


หมายเหตุ : ปืนเชื่อมสำหรับแบบที่ 1 และ 2 จะมีวาล์วเพื่อเปิด-ปิดก๊าซ เนื่องจากไม่มีวาล์วที่เครื่องเชื่อมทำให้เครื่องเชื่อมราคาถูกกว่า แต่ไม่สามารถเชื่อมอลูมิเนียมได้
สิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อต้องการเลือกใช้เครื่องเชื่อม TIG
1. เลือกกระแสไฟเชื่อมจากชนิดของวัสดุที่จะเชื่อม
1.1 ไฟกระแสตรง DC สำหรับเชื่อม เหล็ก, เหล็กหล่อ, สแตนเลส, ทองเหลือง, ทองแดง, ไทเทเนียม, นิกเกิล
1.2 ไฟกระแสสลับ AC สำหรับเชื่อม อลูมิเนียม, แมกนีเซียม
2. ความหนาของชิ้นงาน ชิ้นงานหนามากกว่า 5 มม. ใช้เครื่อง 300 แอมป์ขึ้นไป
3. ต้องการเครื่องที่ดูแลรักษาง่าย ใช้เครื่องที่ปรับกระแสไฟแบบมือหมุน
4. หากต้องการการปรับกระแสไฟชนิดที่ละเอียดมากขึ้น ให้ใช้การปรับกระแสไฟแบบไฟฟ้า
ปลอกอาร์กอน (Alumina Cup)
ปลอกอาร์กอนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้บังคับการไหลของก๊าซปกคลุมเข้าสู่แนวเชื่อม เพื่อป้องกันลวดทังสเตน และบ่อหลอมละลายของแนวเชื่อมทำปฏิกิริยากับอากาศ ทำจากวัสดุทนความร้อนสูง เช่น เซรามิก หมายเลขของปลอกอาร์กอนจะบอกความโตภายในของปาก หากลวดทังสเตนใหญ่ขึ้น หรือ กระแสไฟเชื่อมสูงขึ้น ควรเลือกปากของปลอกอาร์กอนที่โตขึ้นตาม ปลอกอาร์กอนมี 2 แบบคือ
1. ปลอกอาร์กอนมาตรฐาน


2. ปลอกอาร์กอนสำหรับคอลเลตบอดี้แบบมี Gas Len


คอ ลเลต และคอลเลตบอดี้ (Collet & Collet Body)
คอลเลตและคอลเลตบอดี้คืออุปกรณ์ที่ใช้จับยึดลวดทังสเตนเป็นจุดผ่านกระแสไฟเชื่อมจากเครื่องเชื่อมเข้าสู่ลวดทังสเตน และส่งก๊าซปกคลุมเข้าสู่แนวเชื่อมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของคอลเลตและคอลเลตบอดี้ต้องเท่ากับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดทังสเตนเพื่อให้การส่งผ่านกระแสไฟเชื่อมดีที่สุดหากใช้คอลเลตและคอลเลตบอดี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าลวดทังสเตนจะทำให้การผ่านกระแสไฟเชื่อมไม่สมบูรณ์และทำให้อายุปืนเชื่อมสั้นลง

แบ็คแค็บ (Back Cap)
แบ็คแค็บเป็นอุปกรณ์ขันแน่นที่ทำด้วยเกลียว ทำหน้าที่ขันให้คอลเลตจับยึดลวดทังสเตนให้แน่น และมีโอริงสำหรับป้องกันก๊าซปกคลุมไม่ให้รั่วออก ทางด้านบนของปืนเชื่อม ซึ่งเป็นบริเวณสำหรับใส่ลวดทังสเตน แบ็คแค็บมีความยาวหลายขนาดเพื่อให้เหมาะสมกับความยาวของลวดทังสเตนที่ใช้ สำหรับงาน ที่ต้องเชื่อมในพื้นที่จำกัด นิยมใช้แบ็คแค็บที่มีขนาดสั้นที่สุด
